วันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2567 นางสาวอภิญญา จันทรวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจข้าวของสหกรณ์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาสหกรณ์ประมงและปศุสัตว์ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ติดตามผลการดำเนินโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น และผลการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน ดังนี้
1. โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของสหกรณ์การเกษตรเชียงดาว จำกัด และชุมนุมสหกรณ์การเกษตรภาคเหนือ จำกัด จ. เชียงใหม่
2. โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นของกลุ่มเกษตรกรทำไร่โป่งน้ำร้อน จ. เชียงใหม่ และสหกรณ์การเกษตรบ้านโฮ่ง จำกัด จ. ลำพูน
3. ผลการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่ – ลำพูน จำกัด จ. เชียงใหม่ และสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรเชียงใหม่ – ลำพูน จำกัด จ. ลำพูน
โดยได้ให้คำแนะนำในการขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ได้มาตรฐาน การเพิ่มช่องทางการจำหน่าย การวางแผนการผลิตและการจำหน่ายสินค้า รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายกับสหกรณ์เครือข่ายทั้งสหกรณ์ร้านค้าและสหกรณ์การเกษตรที่มีศักยภาพด้านการตลาด และภาคเอกชน สำหรับสหกรณ์ที่มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ให้วางแผนการจัดการกับวัสดุเหลือใช้เพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่า หรือเพื่อลดต้นทุนการผลิต ทั้งนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์จะขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ 2568 ต่อไป
กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร
อาคาร 1 ชั้น 2 กรมส่งเสริมสหกรณ์
12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์/โทรสาร 0 2280 1341 ไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ :
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2565 โดยกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร
copyright © 2022 agriculture sector cooperative and farmer groups development division
ภาพและวีดีโอ จากเว็บไซต์ canva.com